เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า กายภาพบำบัด

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า กายภาพบำบัด

“เข้าใจปัญหา รักษาอย่างตรงจุด”

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า กายภาพบำบัด

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า กายภาพบำบัด (Electrical Stimulation) คืออะไร

ไอ แอม คลินิกกายภาพบำบัด

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า กายภาพบำบัด

การรักษาด้วย เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า Electrical Stimulation (ES) คืออะไร 

ตามปกติร่างกายของเราจะใช้โปรตีนในการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย โดยโปรตีนจะถูกสังเคราะห์เพิ่มมากขึ้นเมื่อได้รับการกระตุ้นไฟฟ้า รวมทั้งประจุไอออน เมื่อถูกเหนี่ยวนำด้วยพลังงานไฟฟ้าจากภายนอก จะไปเร่งขบวนการเมตาบอลิซึม (Metabolism) และเร่งขบวนการลำเลียงสารอาหารเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งเส้นประสาทซึ่งตามปกติจะสามารถถูกเร้าต่อเมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่าน โดยเมื่อได้รับพลังงานไฟฟ้าจากภายนอก จะสามารถเร้าเส้นประสาทที่อยู่ส่วนปลายด้วยเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าผ่านผิวหนัง ทำให้เกิดการตอบสนองการตื่นตัวของเส้นประสาทได้ โดยทั้งนี้ขึ้นกับ ชนิดของกระแสไฟฟ้า ความเข้มของกระแสไฟฟ้า ความถี่ของกระแสไฟฟ้า ตำแหน่งหรือบริเวณที่ติดขั้วไฟฟ้า และขนาดขั้วไฟฟ้า

ผลของการกระตุ้นไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องจะทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของเส้นใยกล้ามเนื้อและเส้นประสาททั้ง ในระยะสั้น และระยะยาวโดยพบว่า การกระตุ้นไฟฟ้ามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของกล้ามเนื้อในระดับเซลล์และโครงสร้างเซลล์ รวมถึงหน้าที่ของกล้ามเนื้อนั้นอีกด้วย

8 ประเภทของ การกระตุ้นด้วยไฟฟ้าในทางกายภาพบำบัด

ประเภทของเครื่องกระตุ้นไฟฟ้ามีหลายประเภท ชนิดของกระแสไฟฟ้าที่นิยมใช้ในการรักษามีดังนี้

  1. การใช้กระแสไฟฟ้าบําบัดอาการปวด (Electrical stimulation for pain control)(ES)
  2. การกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อการสมานแผล (Electrical stimulation for promote healing)
  3. การกระตุ้นไฟฟ้าร่วมกับการออกกําาลังกายเพื่อเรียนรู้หน้าที่ใหม่(Electrical stimulation for muscle re-education
  4. การกระตุ้นไฟฟ้าในกล้ามเนื้อที่มีเส้นประสาทเลี้ยง (Innervated muscle) เพื่อเพิ่มแรงหดตัวความแข็งแรง เรียกว่า Neuromuscular electrical stimulation (NMES)
  5. การกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อส่งเสริมควบคุมการเคลื่อนไหว ท่าทาง และกิจกรรม (Functional electrical stimulation, FES) ทั้งในกล้ามเนื้อที่มีเส้นประสาทและไม่มีเส้นประสาทมาเลี้ยง (Innervated and denervated muscle)
  6. การกระตุ้นไฟฟ้าในกล้ามเนื้อที่ขาดเส้นประสาทมาเลี้ยง (Denervated muscle) เพื่อให้กล้ามเนื้อเกิดการหดตัว เรียกว่า Electrical muscle stimulation (EMS)
  7. TENS หรือ Trancutaneous electrical nerve stimulationใช้กระแสไฟฟ้าในการกระตุ้นเพื่อลดอาการปวด ซึ่งนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน การใช้กระแสไฟฟ้าในการลดปวด นอกจากจะจะใช้กระแส TENS ซึ่งนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางและเป็นเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าที่ผลิตขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถพบติดตัวไปใช้ได้ตลอดเวลา
  8. การใช้กระแสไฟฟ้าเพื่อการนําาส่งยาและสารเคมี (Iontophoresis)
เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า กายภาพบำบัด

การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า การภาพบำบัด รักษาอาการใดได้บ้าง

การรักษาด้วยการกระตุ้นไฟฟ้าที่สรีรารักใช้ เป็นกระแสไฟฟ้าบำบัดเพื่อช่วยในการลดปวดโดยใช้กระแสไฟฟ้า ES ( Electrical stimulation for pain control ) และเลือกใช้รูปแบบกระแสตรงและหยุดเป็นช่วง (Interrupted direct current) ซึ่งช่วงกระแสไฟนี้ จะมีช่วงความถี่ต่ำที่สบายผิว และไม่ละคายเคือง เราจะเลือกใช้ให้เห็นผลถึงการคลายกล้ามเนื้อชั้นตื้นและกล้ามเนื้อชั้นลึก โดยผู้รักษาจะมีความรู้สึกสั่นสบายระหว่างการกระตุ้น และรู้สึกถึงการคลายในระดับกล้ามเนื้อชั้นลึกตรงจุดที่มีอาการปวดได้อย่างชัดเจนโดยไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ

ในส่วนของกล้ามเนื้อมัดเล็กชั้นลึกตามแนวกระดูกต้นคอและกระดูกสันหลัง ทางสรีรารักเลือกใช้การกระตุ้นไฟฟ้าที่เรียกว่า ปากกาไฟฟ้า (point electrode) เป็นการใช้กระแสไฟฟ้าชนิดเดียวกันแต่สามารถกระตุ้นกล้ามเนื้อมัดเล็กชั้นลึกได้เป็นอย่างดี เหมาะกับปัญหากลุ่มกล้ามเนื้อเกร็งเรื้อรัง เช่น ออฟฟิศซินโดรม ปวดคอ ปวดบ่า ปวดสะบัก ปวดหลัง ปวดหลังจากหมอนรองกระดูกเคลื่อน ปวดหลังจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ปวดสะโพกร้าวลงขา และอาการปวดทางระบบเส้นประสาทต่างๆ

ข้อดี จุดเด่น ของการรักษาด้วย การกระตุ้นไฟฟ้า Electrical stimulator

การกระตุ้นไฟฟ้ากายภาพบำบัดจะช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อได้ดังนี้

  • ซ่อมแซมเนื้อเยื้อ
  • ลดปวด ลดบวม
  • ช่วยการเคลื่อนไหว หรือ เลียนแบบการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้เอง
  • คลายกล้ามเนื้อชั้นตื้นชั้นลึก
  • เพิ่มการไหลเวียนโลหิตในกล้ามเนื้อ
  • เพิ่มการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดดำ และน้ำเหลือง
  • เพิ่มความแข็งแรงในมัดกล้ามเนื้อที่มีภาวะอ่อนแรง
  • เพิ่มความเร็วในการนำกระแสประสาท
  • ลดอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ
  • กระตุ้นการซ่อมแซมแผลให้หายเร็วขึ้น

ข้อห้าม ข้อควรระวังในการกายภาพด้วย Electrical stimulator 

ข้อห้าม

  • บริเวณทรวงอกในผู้ป่วยที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ (Pacemaker)
  • บริเวณที่มีเครื่องกระตุ้นกระเพาะปัสสาวะ
  • บริเวณ Carotid Sinus
  • บริเวณที่เป็นโรคหลอดเลือดรอบนอก เช่น ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน(Venous thrombosis) และหลอดเลือดดำอักเสบ (Thrombophlebitis)
  • บริเวณที่เป็นเนื้องอก และโรคติดเชื้อ
  • บริเวณลำตัวของสตรีมีครรภ์
  • บริเวณที่มีแผลเลือดออก
  • บริเวณที่มีเหล็ก โลหะ ฝังอยู่ในกล้ามเนื้อ
  • ผู้ป่วยที่มีความดันสูงมาก หรือต่ำมาก

ข้อควรระวัง

  • บริเวณใกล้ทรวงอก
  • บริเวณข้างคอค่อนมาข้างหน้า(phrenic nerve)เพราะกระแสไฟฟ้าอาจไปรบกวนการหายใจ
  • ในผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันสูง หรือต่ำ
  • บริเวณแขน/ขา ของสตรีมีครรภ์
  • บริเวณที่มีไขมันมาก
  • ผู้ป่วยที่ไม่สามารถติดต่อสื่อสารได้

นักกายภาพบำบัดปฎิบัติการ

เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า กายภาพบำบัด

กภ.ชญาพิชญ์ พวงมาลัย

Certifications
  • กายภาพบำบัดบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • Neurokinetic Therapyl ,Taiwan
  • Fundamental and Advance Kinesio Taping
    สถาบัน Kinesio Taping Association, USA
  • Manipulation Technique สถาบัน KT Acadamy
  • Moss Model for Scoliosis สถาบัน Rehab by Yai
  • อบรมเชิงปฏิบัติการกายภาพบำบัดทางกีฬา
ความเชี่ยวชาญ
  • กายภาพบำบัดทางระบบกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อ
  • ขยับ ดัด ดึงข้อต่อ และจัดกระดูก (Manipulation)
  • กายภาพบำบัดเชิงการกีฬา (Sport Physiotherapist)
  • การติดเทปบำบัด Kinesio Taping
  • กระดูกสันหลังคด (Scoliosis)
เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า กายภาพบำบัด

ไอ แอม คลินิกกายภาพบำบัด จ.พะเยา

*** ยินดีรับนักศึกษาจบใหม่ ***

รับสมัครนักกายภาพบำบัด  Part time 1 ตำแหน่ง

คุณสมบัติ

  • มีมนุษยสัมพันธ์ดี จบปริญญาตรีกายภาพบำบัด
  • มีทักษะในการรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพ
  • มีใบประกอบวิชาชีพ หรืออยู่ระหว่างรอสอบใบประกอบวิชาชีพ
  • สะดวกรับงานในวันธรรมดาได้ (เช่น วัน จ-ศ 10.00-18.00 น. )
  • ชื่นชอบ manual technique (ไม่เก่งไม่เป็นไรค่ะ ขอแค่ใจรัก ฝึกฝนกันได้)
  • สะดวกรับเคสโฮมได้
  • มีความตั้งใจ และพร้อมจะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
  • รับทุกเพศค่ะ
  • สามารถติดต่อได้ง่าย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้นี้เป็นการเก็บข้อมูลสาธารณะสำหรับการวิเคราะห์ และเก็บสถิติการใช้งานภายในเว็บไซต์นี้เท่านั้น ไม่ได้เก็บข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นสาธารณะใดๆ ของผู้ใช้งาน

บันทึกการตั้งค่า